วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วัดในจังหวัดสุพรรณบุรี วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

   วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ


                                


วัดพระศรีรัตนมหาธาตุอยู่ในตำบลรั้วใหญ่ฝั่งตะวันตกของ
แม่น้ำสุพรรณบุรี ถนนสมภารคงแยกจากถนนมาลัยแมน
ไปประมาณ 300 เมตรในสมัยก่อนเป็นศูนย์กลางของเมืองสุพรรณภูมิ
เป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง มีอายุไม่ต่ำกว่า 600 ปี
ปรางค์องค์ประธานเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้
แต่ได้ถูกชาวบ้านลักลอบขุดค้นหาทรัพย์สินจนทรุดโทรมไปมาก
พระพิมพ์ผงสุพรรณบุรีที่โด่งดังมาก อันเป็นหนึ่งใน “เบญจภาคี”
ก็ได้ไปจากกรุในองค์พระปรางค์นี้
นักโบราณคดีหลายท่านให้ความเห็นว่าน่าจะเป็นศิลปะการก่อสร้าง
ในสมัยอู่ทองสุพรรณภูมิ เพราะหลักฐานการก่อสร้าง
เป็นการก่ออิฐไม่ถือปูน ซึ่งเป็นวิธีการเก่าแก่ก่อนสมัยอยุธยา


และเป็นวัดต้นกำเนิดพระผงสุพรรณ


           




กำเนิดพระผงสุพรรณ


พระผงสุพรรณ มีแหล่งกำเนิดจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี เนื้อเป็นเนื้อ ดินเผาละเอียดปราศจากเม็ดแร่ มีหลายสี เช่น สีแดง สีเขียว สีดำ และสีมอย(ดำจางๆคล้ายผงธูป) 
พระผงสุพรรณพิมพ์ที่นิยมในวงการมีอยู่ 3 พิมพ์ ด้วยกันคือ
1 พิมพ์หน้าแก่
2 พิมพ์หน้ากลาง
3 พิมพ์หน้าหนุ่ม 

พระผงสุพรรณได้ปรากฏหลักฐานว่าขุดพบที่พระปรางค์องค์ใหญ่ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมื่อปี พ.ศ.2456 โดยท่านพระยาสุนทรบุรี เจ้าเมืองสุพรรณในขณะนั้นได้สั่งให้มีการเปิดกรุ อย่างเป็นทางการ เพราะปรากฏว่ามีคนร้ายลักลอบขุดพระปรางค์องค์ใหญ่ อยู่บ่อยครั้งซึ่งได้ พบพระบูชาและพระเครื่องมากมายหลายพิมพ์ แม้แต่พระทองคำก็มีไม่น้อย นอกจากนี้ยังพบแผ่นลานเงิน แผ่นลานทองซึ่งได้บันทึกจารหลักฐานไว้ทำให้ชนรุ่นหลังได้ทราบว่า ในปี พ.ศ.1890 สมเด็จพระบรมราชาธิบดีที่1 ทรงมีศรัทธาในพระบรมพุทธศาสนา ได้ทรงอัญเชิญพระมหาเถร- ปิยะทัสสีสารีบุตร ให้เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พระฤาษีทิวาลัยเป็นประธาน ฝ่ายฤาษี ร่วมกันสร้าง พระพุทธปฏิมากร เพื่อเป็นการสืบศาสนา พระผงสุพรรณเป็นพระเครื่องสกุลสูงเปรียบได้ว่าเป็นพระ ชั้นกษัตริย์ ของเมืองสุพรรณบุรี พุทธลักษณะเป็นพระสี่เหลี่ยมทรงชะลูดจนดูเกือบจะเป็น สามเหลี่ยมตัดปลาย มีบางองค์ถูกถูกตัดปลายออกสองด้านจนกลายเป็นห้าเหลี่ยมก็มี องค์พระนั่ง ปางมารวิชัยประทับบนฐานชั้นเดียวพระพักตร์แตกต่างกันออกไปตามพิมพ์ ด้านหลังปรากฏลาย นิ้วมือแบบ" ตัดหวาย "ทุกองค์ เป็นศิลปะแบบอู่ทอง 



                









ศิลปะแห่งองค์พระผงสุพรรณ
     จากสำเนาจารึกลานทองที่ค้นพบกล่าวถึงการสร้าง พระผงสุพรรณไว้ ความว่าศุภมัสดุ 1265 สิทธิการิยะ แสดงบอกไว้ให้รู้ว่า ฤาษีทั้งสี่ตนพระฤาษีพิมพิลาไลย์เป็นประธาน เราจะทำด้วยฤทธิ์ทำด้วยเครื่องประดิษฐ์ มีสุวรรณเป็นต้น คือ บรมกษัตริย์พระยาศรีธรรมโศกราช เป็นผู้มีศรัทธา พระฤาษีทั้งสี่ตน จึงพร้อมกันนำเอาแต่ว่านทั้งหลาย พระฤาษีจึงอัญเชิญเทวดา มาช่วยกันทำพิธีเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่งแดง สถานหนึ่งดำ ให้เอาว่านทำเป็นผงก้อน พิมพ์ด้วยลายมือของมหาเถระปิยะทัสสะสี ศรีสารีบุตร คือ เป็นใหญ่เป็นประธานในที่นั้น ได้เอาแร่ต่าง ๆ มีอานุภาพต่างกัน เสกด้วยมนต์คาถาครบ ๓ เดือน แล้วท่านให้เอาไปประดิษฐ์ไว้ในสถูปแห่งหนึ่งที่เมืองพันทูม
     ถ้าผู้ใดพบเห็นให้รับเอาไปไว้สักการบูชา เป็นของวิเศษ แม้จะมีอันตรายประการใดก็ดี ให้อาราธนาผูกไว้ที่คอ อาจคุ้มครองภยันตรายได้ทั้งปวง เอาพระสงสรงน้ำมันหอม แล้วนั่งบริกรรม พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ๑๐๘ จบ พาหุง ๑๓ จบ ใส่ชันสัมฤทธิ์ นั่งสันนิษฐานเอาความปรารถนาเถิด ให้ทาทั้งหน้าและผม คอหน้าอก ถ้าจะใช้ทางเมตตา ให้มีสง่า เจรจาให้คนทั้งหลายเชื่อฟังยำเกรง ให้เอาพระไว้ในน้ำมันหอม เสกด้วยคาถานวหรคุณ ๑๓ จบ พาหุง ๑๓ จบ พระพุทธคุณ ๑๓ จบ ให้เอาดอกไม้ธูปเทียนทำพิธีในวันเสาร์ น้ำมันหอมเก็บไว้ใช้ได้เสมอทาริมฝีปาก หน้าผาก และผม ถ้าผู้ใดพบพระตามที่กล่าวมานี้ พระว่านก็ดี พระเกสรก็ดี ทำด้วยแร่สังฆวานรก็ดี อย่างประมาทเลย อานุภาพพระทั้ง ๓ อย่างนี้ดุจกำแพงแก้วกันอันตรายทั้งปวงแล้วให้ว่าคาถาทแยงแก้วกันอันตรายทั้งปวง แล้วให้ว่าคาถาทแยงสันตาจนจบพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณจนจบพาหุงไปจนจบ แล้วให้ว่าดังนี้อีก กะเตสิกเกกะระณังมหาไชยังมังคะ สังนะมะพะทะ แล้วให้ว่า กิริมิติ กุรุมุธุ เกเรเมเถ กะระมะทะประสิทธิแล

 เป็นอีกหนึ่ง"วัดในจังหวัดสุพรรณบุรี"ที่น่าท่องเที่ยว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น